อักษรวิ่ง

เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน

วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ประวัติการพยาบาล

                                   

ทฤษฎีการพยาบาล

              เมลลิส (melis 1997:13) ให้ความหมายทฤษฎีว่า เป็นข้อความที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์ ทฤษฎีการพยาบาล (nursing theory) เปรียบเสมือนเป็นการสรุปทางความคิดเกี่ยวกับข้อความจริงทางการพยาบาล โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพรรณาปรากฏการณ์ อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ ทำนายผลที่จะเกิดขึ้น หรือ การควบคุมปรากฏการณ์ทางการพยาบาล

                  ฟอว์เซท (fawcett 1989) ให้นิยามโดยเน้นที่ปรากฏการณ์ทางการพยาบาล โดยนิยามว่า ทฤษฎีการพยาบาลประกอบด้วยมโนทัศน์ และข้อสันนิษฐาน (proposition) ที่มีความเฉพาะเจาะจงมากกว่าแบบจำลองความคิด ทฤษฎีการพยาบาลจะกล่าวถึงบุคคล สุขภาพ สิ่งแวดล้อม และการพยาบาล และระบุความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์ทั้ง 4 ดังกล่าว


                  จากนิยามดังกล่าว ทฤษฎีการพยาบาลจึงเป็นข้อความแสดงความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์ทางการพยาบาลที่พรรณา อธิบาย ทำนาย และควบคุมปรากฏการณ์ทางการพยาบาลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ


ประวัติการก่อตั้ง


                 สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ ถือกำเนิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยดำริของพลตรีพระยาดำรงแพทยาคุณ (ชื่น พุทธิแพทย์) ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์    ในขณะนั้น ท่านได้พิจารณาเห็นความสำคัญของการมีสมาคมพยาบาลขึ้นในประเทศ จึงได้เชิญพยาบาลชั้นหัวหน้าจากโรงพยาบาลศิริราช และสภากาชาดไทย ประชุมหารือที่บ้านของท่านเมื่อวัน11 กุมภาพันธ์ 2469 ผู้เข้าประชุมที่เป็นพยาบาล 7 คน ซึ่งมีความเห็นร่วมกันที่จะจัดตั้งสมาคมพยาบาล ขึ้นในประเทศ


การเลือกนายกสมาคมฯ

          คณะผู้ก่อตั้งได้มีการประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างข้อบังคับของสมาคมฯ และได้เลือกหม่อมเจ้าหญิงมัณฑารพ กมลาศน์ เป็นนายกสมาคมพระองค์แรก


สถานที่ทำการสมาคมฯ แห่งแรก
              พลตรีพระยาดำรง แพทยาคุณ (ชื่น พุทธิแพทย์) ได้ดำเนินการขอประทานพระอนุญาต จากจอมพลสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต องค์อุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดสยาม เพื่อขออาศัยใช้สถานที่ของกองบรรเทาทุกข์สภากาชาดสยามเป็นสำนักงาน กับทั้งขอพระราชทานนามสมาคมเพื่อเป็นสิริมงคลสืบไป ซึ่งองค์อุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดสยามได้ทรงประทานพระอนุญาตให้ใช้สถานที่ตามที่ขอ และพระราชทานนามสมาคมว่า “สมาคมนางพยาบาลแห่งกรุงสยาม” สมาคมนี้เป็นสมาคมสตรีแห่งแรกของประเทศ

 พลตรีพระยาดำรงแพทยาคุณ(ชื่น  พุทธิแพทย์)



การจดทะเบียนสมาคมฯ ตามกฎหมาย
              หม่อมเจ้าหญิงมัณฑารพ กมลาศน์ องค์นายกสมาคม ทรงทำหนังสือถึงผู้บัญชาการตำรวจนครบาลกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2469 ขออนุญาตจดทะเบียนสมาคมโดยทรงขอให้เริ่มจดในวันที่ 1 เมษายน  ซึ่งเป็นวันขึ้นศกใหม่ของพุทธศักราช 2470 แต่วันจดทะเบียนตั้งสมาคมฯ มิได้เป็นไปตามที่ทรงขอไว้
               สมาคมนางพยาบาลแห่งกรุงสยาม ได้รับการจดทะเบียนลำดับที่ จ 67 เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 ได้มีการรับรองกรรมการชุดแรกของสมาคมในการประชุม ปีที่ 1 ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 (สำเนาทะเบียนสมาคม หน้า 14)

การประชุมใหญ่ครั้งแรก
                 สมาคมนางพยาบาลแห่งกรุงสยาม ได้จัดให้มีการประชุมใหญ่ครั้งแรก เมื่อวันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 ณ ตึกสุทธาทิพย์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ อันเป็นที่ตั้งสำนักงานแห่งแรก จอมพลสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงพระกรุณาเสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดประชุม ได้ประทานพระโอวาทแก่สมาชิกสมาคมนางพยาบาลแห่งกรุงสยาม ให้มีความภาคภูมิใจในวิชาชีพของตนเอง พร้อมทั้งได้ทรงสดุดี นางสาวฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ผู้เป็นปฐมปรมาจารย์ของการพยาบาลเพื่อพยาบาลทั้งหลาย ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง
  ตราเครื่องหมายสมาคมพยาบาลฯ 

                           พลเอกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงษ์ ได้ทรงพระกรุณาออกแบบตราสมาคม เป็นดาว 5 แฉก รัศมีสีทอง มีตัวอักษร “สมาคมพยาบาลแห่งกรุงสยาม” ตัวอักษรเป็นทอง พื้นลงยาสีแดง ตรงกลางเป็นรูปช้างสามเศียรสีเงิน เป็นเงินดุล



สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงรับการกราบทูลเชิญเป็นกรรมการสมาคมพยาบาลฯ
              ในเดือนพฤษภาคม 2472 หม่อมเจ้าหญิงมัณฑารพ กมลาศน์ ได้ทูลเชิญสมเด็จพระศรีนคริน-ทราบรมราชชนนี ซึ่งขณะนั้น ทรงดำรงพระนามหม่อมสังวาลย์ มหิดล ทรงเป็นกรรมการของสมาคมพยาบาลฯ เนื่องจากทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการพยาบาลหลักสูตรการผดุงครรภ์และการพยาบาลไข้ จากโรงเรียนผดุงครรภ์ เมื่อ พ.ศ. 2459 ซึ่งพระองค์ได้ทรงรับและเสด็จมาร่วมประชุมคณะกรรมการอำนวยการด้วย       ต่อมาเนื่องจากพระภารกิจในการถวายการดูแลการประชวรของสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดลุยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (พระบรมราชชนก)    ไม่สามารถมาร่วมประชุมได้ จึงได้แต่งตั้ง    นางสาวจำนง วีระไวทยะ (คุณหญิงพิณพากย์พิทยาเภท) ให้มาเป็นกรรมการและร่วมประชุมแทนพระองค์



สมาคมฯ เข้าเป็นสมาชิกสมทบของสภาการพยาบาลระหว่างประเทศ
               จึงได้เริ่มมีการคัดเลือกผู้แทนประเทศต่าง ๆ เพียง 15 ประเทศ เป็นกรรมการบริหาร  ในปี พ.ศ. 2476 สภาการพยาบาลระหว่างประเทศ [ICN]  เชิญสมาคมเข้าเป็นสมาชิกสมทบ และหม่อมเจ้าหญิงมัณฑารพ กมลาศน์  เป็นนายกสมาคมฯได้เข้าเป็นผู้แทนของประเทศไทยประเภทสมาชิกสมทบโดยตำแหน่ง [Associate  National Representative]   และ พ.ศ.2500   นายกสมาคมฯ คุณหญิงสมานใจ  ดำรงแพทยาคุณ  เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับเกียรติ  เป็น Board  of  Directors  ของ ICN โดยตำแหน่ง     มีบทบาทด้านกำหนดนโยบายและแนวความคิดต่างๆ ทำให้พยาบาลไทยเป็นที่รู้จักและยอมรับอย่างกว้างขวาง และเผยแพร่วิชาชีพการพยาบาลไทยในต่างประเทศด้วย  เมื่อมีสมาชิก ของ ICN  เพิ่มมากขึ้นในสมัยนั้น ถึง   95  ประเทศ  
               ปัจจุบันมีสมาชิก ของ ICN จำนวน 135 ประเทศ     ซึ่งพยาบาลไทยท่านแรกที่ได้รับเป็นกรรมการบริหาร ICN  คือ รองศาสตราจารย์ ดร. วิเชียร  ทวีลาภ   วาระ ค.ศ.1985-1989      ท่านที่  2   รองศาสตราจารย์ ดร.ทัศนา  บุญทอง   วาระ  ค.ศ. 1993-1997     และ     ท่านที่ 3 รองศาสตราจารย์ ดร.จินตนา  ยูนิพันธุ์  วาระ ค.ศ.  2013-2017

ประวัติการพยาบาลในไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน