อักษรวิ่ง

เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน

วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2562

สาขาของการพยาบาล


สาขาของการพยาบาล

การพยาบาลเด็ก (pediatric nursing)

การพยาบาลมารดาและทารก (mother and child health)

การพยาบาลศัลยศาสตร์ (surgery care)

การพยาบาลอายุรศาสตร์ (medical caring)

การพยาบาลจิตเวช (psychiatric care)

การพยาบาลชุมชน (community care)

การพยาบาลสูติศาสตร์ (obstiatic care)

เวชปฏิบัติการพยาบาล (General Practitioner)

การพยาบาลวิกฤติและฉุกเฉิน (emergency and crisis care)

การพยาบาลระยะสุดท้าย (hospice care)

การบริหารการพยาบาล (nursing administration)

การพยาบาลผู้สูงอายุ (Gerontological Nursing)



U-Review รีวิวสาขาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม


หน้าที่ของพยาบาล

บทบาทหน้าที่ในการปฏิบัติงานของพยาบาล

           บทบาทหน้าที่ในการปฏิบัติงานของพยาบาล เริ่มตั้งแต่การประเมินปัญหาภาวะสุขภาพที่ต้องการการดูแลและให้การช่วยเหลือเพื่อให้ผู้ป่วยปรับตัวได้ นำแผนการรักษาของแพทย์สู่การปฏิบัติ ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน และให้การฟื้นฟูและสร้างเสริมสุขภาพโดยคำนึงถึงความเป็นองค์รวมและความเป็นปัจเจกบุคคลที่มีความต้องการที่แตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้และกลับคืนสู่ครอบครัวและสังคมได้ จึงแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ ได้แก่
  1. บทบาทอิสระ หมายถึง พยาบาลปฎิบัติหน้าที่โดยใช้ความรู้จากศาสตร์ทั้งทางด้านการพยาบาลและความรู้ที่เกี่ยวข้องในศาสตร์สาขาอื่นๆ ตัดสินใจวางแผนเพื่อให้การดูแลผู้เจ็บป่วย ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ช่วยฟื้นฟูและสร้างเสริมสุขภาพ อย่างเป็นอิสระภายใต้ขอบเขตของการพยาบาล
  2. บทบาทร่วม หมายถึง พยาบาลปฎิบัติหน้าที่โดยทำงานร่วมกับแพทย์และทีมสหสาขา โดยนำแผนการรักษาของแพทย์สู่การปฏิบัติดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยเพื่อให้หายจากโรค หรือควบคุมโรคได้
หน้าที่ของพยาบาลในการคัดกรองผู้ป่วย  ในภาวะเร่งด่วน เช่นการปฏิบัติหน้าที่ที่แผนกฉุกเฉิน การคัดกรองผู้ป่วยเป็นหน้าที่สำคัญของพยาบาลอีกด้านหนึ่ง ซึ่งมีประโยชน์ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัย โดยจะคัดกรองอาการของผู้ป่วยแต่ละราย ออกเป็น
1) ต้องรีบพบแพทย์ทันที 
2) สามารถรอได้แต่ไม่นานนัก พยาบาลอาจต้องให้การช่วยเหลือเบื้องต้น เช่น การเช็ดตัวลดไข้ 
3) สามารถรอได้นานกว่า การปฏิบัติในส่วนนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยอย่างมากระหว่างรอเพื่อพบแพทย์ ซึ่งเป็นหน้าที่ของพยาบาลที่จะต้องดูแลและรับผิดชอบ
หน้าที่ของพยาบาลในชุมชนที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่
           พยาบาลไม่ได้มีหน้าที่เฉพาะในโรงพยาบาลเท่านั้น แต่การดูแลผู้ป่วยยังต้องต่อเนื่องไปที่บ้านหรือในชุมชนที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่ หน้าที่ของพยาบาลส่วนนี้คือการดูแลให้ผู้ป่วยดูแลตนเองได้อย่างต่อเนื่อง ควบคุมโรคไม่ให้กำเริบ ด้วยการดูแลวิธีปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย และพฤติกรรมสุขภาพเพื่อให้สอดคล้องกับอาการและความเจ็บป่วยป่วยที่เป็นอยู่ ตลอดจนการรักษาโรคเบื้องต้น เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ของการรักษาพยาบาลที่ดี หรือหายจากโรค นอกจากนี้การดูแลสุขภาพที่บ้านหรือในชุมชนโดยพยาบาล ยังมุ่งดูแลชีวิตตั้งแต่แรกเกิด ดูแลสุขภาพมารดา และสุขภาพและพัฒนาการของเด็กวัยต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นบทบาทที่สำคัญอีกด้านของพยาบาลในการสร้างเสริมสุขภาพประชาชนและผู้ที่เจ็บป่วยในชุมชน
 พยาบาลยุคประเทศไทย 4.0 จำเป็นต้องพัฒนาทักษะหรือความสามารถ ซึ่งได้แก่
1) ทักษะเพื่อพัฒนาตน เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพ เริ่มตั้งแต่การดูแลที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ปฏิบัติหน้าที่อย่างมืออาชีพ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบ สามารถใช้ความรู้ในการดูแลรักษาพยาบาล กล้าที่จะรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ตลอดจนการทำงานอย่างเป็นระบบ คิดเป็นระบบ ทำ พูด และรายงานอย่างเป็นระบบ
2) ทักษะการทำงานร่วมกับคนอื่น คือ ความสามารถในการทำงานเป็นทีม ความสามารถในการประสานงานที่รวดเร็ว แม่นยำและถูกต้อง
3) ทักษะการดูแลที่เน้นความปลอดภัยของผู้ป่วย คู่ขนานไปกับการพัฒนาคุณภาพในการทำงาน รู้จักใช้ข้อมูลทางวิชาการหลักฐานเชิงประจักษ์ ข้อมูลทางด้านวิจัย และนำมาบูรณาการกับการทำงาน  โดยทักษะต่างๆ เหล่านี้ได้ถูกบรรจุอยู่ในหลักสูตรในปัจจุบันการเรียนรู้ตั้งแต่ยังเป็นนักเรียนพยาบาล ทั้งนี้โดยใช้ศาสตร์และศิลป์ในการปฏิบัติการพยาบ
หน้าที่ของพยาบาล

วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ประวัติการพยาบาล

                                   

ทฤษฎีการพยาบาล

              เมลลิส (melis 1997:13) ให้ความหมายทฤษฎีว่า เป็นข้อความที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์ ทฤษฎีการพยาบาล (nursing theory) เปรียบเสมือนเป็นการสรุปทางความคิดเกี่ยวกับข้อความจริงทางการพยาบาล โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพรรณาปรากฏการณ์ อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ ทำนายผลที่จะเกิดขึ้น หรือ การควบคุมปรากฏการณ์ทางการพยาบาล

                  ฟอว์เซท (fawcett 1989) ให้นิยามโดยเน้นที่ปรากฏการณ์ทางการพยาบาล โดยนิยามว่า ทฤษฎีการพยาบาลประกอบด้วยมโนทัศน์ และข้อสันนิษฐาน (proposition) ที่มีความเฉพาะเจาะจงมากกว่าแบบจำลองความคิด ทฤษฎีการพยาบาลจะกล่าวถึงบุคคล สุขภาพ สิ่งแวดล้อม และการพยาบาล และระบุความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์ทั้ง 4 ดังกล่าว


                  จากนิยามดังกล่าว ทฤษฎีการพยาบาลจึงเป็นข้อความแสดงความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์ทางการพยาบาลที่พรรณา อธิบาย ทำนาย และควบคุมปรากฏการณ์ทางการพยาบาลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ


ประวัติการก่อตั้ง


                 สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ ถือกำเนิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยดำริของพลตรีพระยาดำรงแพทยาคุณ (ชื่น พุทธิแพทย์) ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์    ในขณะนั้น ท่านได้พิจารณาเห็นความสำคัญของการมีสมาคมพยาบาลขึ้นในประเทศ จึงได้เชิญพยาบาลชั้นหัวหน้าจากโรงพยาบาลศิริราช และสภากาชาดไทย ประชุมหารือที่บ้านของท่านเมื่อวัน11 กุมภาพันธ์ 2469 ผู้เข้าประชุมที่เป็นพยาบาล 7 คน ซึ่งมีความเห็นร่วมกันที่จะจัดตั้งสมาคมพยาบาล ขึ้นในประเทศ


การเลือกนายกสมาคมฯ

          คณะผู้ก่อตั้งได้มีการประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างข้อบังคับของสมาคมฯ และได้เลือกหม่อมเจ้าหญิงมัณฑารพ กมลาศน์ เป็นนายกสมาคมพระองค์แรก


สถานที่ทำการสมาคมฯ แห่งแรก
              พลตรีพระยาดำรง แพทยาคุณ (ชื่น พุทธิแพทย์) ได้ดำเนินการขอประทานพระอนุญาต จากจอมพลสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต องค์อุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดสยาม เพื่อขออาศัยใช้สถานที่ของกองบรรเทาทุกข์สภากาชาดสยามเป็นสำนักงาน กับทั้งขอพระราชทานนามสมาคมเพื่อเป็นสิริมงคลสืบไป ซึ่งองค์อุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดสยามได้ทรงประทานพระอนุญาตให้ใช้สถานที่ตามที่ขอ และพระราชทานนามสมาคมว่า “สมาคมนางพยาบาลแห่งกรุงสยาม” สมาคมนี้เป็นสมาคมสตรีแห่งแรกของประเทศ

 พลตรีพระยาดำรงแพทยาคุณ(ชื่น  พุทธิแพทย์)



การจดทะเบียนสมาคมฯ ตามกฎหมาย
              หม่อมเจ้าหญิงมัณฑารพ กมลาศน์ องค์นายกสมาคม ทรงทำหนังสือถึงผู้บัญชาการตำรวจนครบาลกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2469 ขออนุญาตจดทะเบียนสมาคมโดยทรงขอให้เริ่มจดในวันที่ 1 เมษายน  ซึ่งเป็นวันขึ้นศกใหม่ของพุทธศักราช 2470 แต่วันจดทะเบียนตั้งสมาคมฯ มิได้เป็นไปตามที่ทรงขอไว้
               สมาคมนางพยาบาลแห่งกรุงสยาม ได้รับการจดทะเบียนลำดับที่ จ 67 เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 ได้มีการรับรองกรรมการชุดแรกของสมาคมในการประชุม ปีที่ 1 ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 (สำเนาทะเบียนสมาคม หน้า 14)

การประชุมใหญ่ครั้งแรก
                 สมาคมนางพยาบาลแห่งกรุงสยาม ได้จัดให้มีการประชุมใหญ่ครั้งแรก เมื่อวันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 ณ ตึกสุทธาทิพย์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ อันเป็นที่ตั้งสำนักงานแห่งแรก จอมพลสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงพระกรุณาเสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดประชุม ได้ประทานพระโอวาทแก่สมาชิกสมาคมนางพยาบาลแห่งกรุงสยาม ให้มีความภาคภูมิใจในวิชาชีพของตนเอง พร้อมทั้งได้ทรงสดุดี นางสาวฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ผู้เป็นปฐมปรมาจารย์ของการพยาบาลเพื่อพยาบาลทั้งหลาย ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง
  ตราเครื่องหมายสมาคมพยาบาลฯ 

                           พลเอกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงษ์ ได้ทรงพระกรุณาออกแบบตราสมาคม เป็นดาว 5 แฉก รัศมีสีทอง มีตัวอักษร “สมาคมพยาบาลแห่งกรุงสยาม” ตัวอักษรเป็นทอง พื้นลงยาสีแดง ตรงกลางเป็นรูปช้างสามเศียรสีเงิน เป็นเงินดุล



สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงรับการกราบทูลเชิญเป็นกรรมการสมาคมพยาบาลฯ
              ในเดือนพฤษภาคม 2472 หม่อมเจ้าหญิงมัณฑารพ กมลาศน์ ได้ทูลเชิญสมเด็จพระศรีนคริน-ทราบรมราชชนนี ซึ่งขณะนั้น ทรงดำรงพระนามหม่อมสังวาลย์ มหิดล ทรงเป็นกรรมการของสมาคมพยาบาลฯ เนื่องจากทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการพยาบาลหลักสูตรการผดุงครรภ์และการพยาบาลไข้ จากโรงเรียนผดุงครรภ์ เมื่อ พ.ศ. 2459 ซึ่งพระองค์ได้ทรงรับและเสด็จมาร่วมประชุมคณะกรรมการอำนวยการด้วย       ต่อมาเนื่องจากพระภารกิจในการถวายการดูแลการประชวรของสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดลุยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (พระบรมราชชนก)    ไม่สามารถมาร่วมประชุมได้ จึงได้แต่งตั้ง    นางสาวจำนง วีระไวทยะ (คุณหญิงพิณพากย์พิทยาเภท) ให้มาเป็นกรรมการและร่วมประชุมแทนพระองค์



สมาคมฯ เข้าเป็นสมาชิกสมทบของสภาการพยาบาลระหว่างประเทศ
               จึงได้เริ่มมีการคัดเลือกผู้แทนประเทศต่าง ๆ เพียง 15 ประเทศ เป็นกรรมการบริหาร  ในปี พ.ศ. 2476 สภาการพยาบาลระหว่างประเทศ [ICN]  เชิญสมาคมเข้าเป็นสมาชิกสมทบ และหม่อมเจ้าหญิงมัณฑารพ กมลาศน์  เป็นนายกสมาคมฯได้เข้าเป็นผู้แทนของประเทศไทยประเภทสมาชิกสมทบโดยตำแหน่ง [Associate  National Representative]   และ พ.ศ.2500   นายกสมาคมฯ คุณหญิงสมานใจ  ดำรงแพทยาคุณ  เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับเกียรติ  เป็น Board  of  Directors  ของ ICN โดยตำแหน่ง     มีบทบาทด้านกำหนดนโยบายและแนวความคิดต่างๆ ทำให้พยาบาลไทยเป็นที่รู้จักและยอมรับอย่างกว้างขวาง และเผยแพร่วิชาชีพการพยาบาลไทยในต่างประเทศด้วย  เมื่อมีสมาชิก ของ ICN  เพิ่มมากขึ้นในสมัยนั้น ถึง   95  ประเทศ  
               ปัจจุบันมีสมาชิก ของ ICN จำนวน 135 ประเทศ     ซึ่งพยาบาลไทยท่านแรกที่ได้รับเป็นกรรมการบริหาร ICN  คือ รองศาสตราจารย์ ดร. วิเชียร  ทวีลาภ   วาระ ค.ศ.1985-1989      ท่านที่  2   รองศาสตราจารย์ ดร.ทัศนา  บุญทอง   วาระ  ค.ศ. 1993-1997     และ     ท่านที่ 3 รองศาสตราจารย์ ดร.จินตนา  ยูนิพันธุ์  วาระ ค.ศ.  2013-2017

ประวัติการพยาบาลในไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน