บทบาทหน้าที่ในการปฏิบัติงานของพยาบาล
บทบาทหน้าที่ในการปฏิบัติงานของพยาบาล เริ่มตั้งแต่การประเมินปัญหาภาวะสุขภาพที่ต้องการการดูแลและให้การช่วยเหลือเพื่อให้ผู้ป่วยปรับตัวได้ นำแผนการรักษาของแพทย์สู่การปฏิบัติ ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน และให้การฟื้นฟูและสร้างเสริมสุขภาพโดยคำนึงถึงความเป็นองค์รวมและความเป็นปัจเจกบุคคลที่มีความต้องการที่แตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้และกลับคืนสู่ครอบครัวและสังคมได้ จึงแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ ได้แก่
- บทบาทอิสระ หมายถึง พยาบาลปฎิบัติหน้าที่โดยใช้ความรู้จากศาสตร์ทั้งทางด้านการพยาบาลและความรู้ที่เกี่ยวข้องในศาสตร์สาขาอื่นๆ ตัดสินใจวางแผนเพื่อให้การดูแลผู้เจ็บป่วย ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ช่วยฟื้นฟูและสร้างเสริมสุขภาพ อย่างเป็นอิสระภายใต้ขอบเขตของการพยาบาล
- บทบาทร่วม หมายถึง พยาบาลปฎิบัติหน้าที่โดยทำงานร่วมกับแพทย์และทีมสหสาขา โดยนำแผนการรักษาของแพทย์สู่การปฏิบัติดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยเพื่อให้หายจากโรค หรือควบคุมโรคได้
หน้าที่ของพยาบาลในการคัดกรองผู้ป่วย ในภาวะเร่งด่วน เช่นการปฏิบัติหน้าที่ที่แผนกฉุกเฉิน การคัดกรองผู้ป่วยเป็นหน้าที่สำคัญของพยาบาลอีกด้านหนึ่ง ซึ่งมีประโยชน์ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัย โดยจะคัดกรองอาการของผู้ป่วยแต่ละราย ออกเป็น
1) ต้องรีบพบแพทย์ทันที
2) สามารถรอได้แต่ไม่นานนัก พยาบาลอาจต้องให้การช่วยเหลือเบื้องต้น เช่น การเช็ดตัวลดไข้
3) สามารถรอได้นานกว่า การปฏิบัติในส่วนนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยอย่างมากระหว่างรอเพื่อพบแพทย์ ซึ่งเป็นหน้าที่ของพยาบาลที่จะต้องดูแลและรับผิดชอบ
2) สามารถรอได้แต่ไม่นานนัก พยาบาลอาจต้องให้การช่วยเหลือเบื้องต้น เช่น การเช็ดตัวลดไข้
3) สามารถรอได้นานกว่า การปฏิบัติในส่วนนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยอย่างมากระหว่างรอเพื่อพบแพทย์ ซึ่งเป็นหน้าที่ของพยาบาลที่จะต้องดูแลและรับผิดชอบ
หน้าที่ของพยาบาลในชุมชนที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่
พยาบาลไม่ได้มีหน้าที่เฉพาะในโรงพยาบาลเท่านั้น แต่การดูแลผู้ป่วยยังต้องต่อเนื่องไปที่บ้านหรือในชุมชนที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่ หน้าที่ของพยาบาลส่วนนี้คือการดูแลให้ผู้ป่วยดูแลตนเองได้อย่างต่อเนื่อง ควบคุมโรคไม่ให้กำเริบ ด้วยการดูแลวิธีปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย และพฤติกรรมสุขภาพเพื่อให้สอดคล้องกับอาการและความเจ็บป่วยป่วยที่เป็นอยู่ ตลอดจนการรักษาโรคเบื้องต้น เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ของการรักษาพยาบาลที่ดี หรือหายจากโรค นอกจากนี้การดูแลสุขภาพที่บ้านหรือในชุมชนโดยพยาบาล ยังมุ่งดูแลชีวิตตั้งแต่แรกเกิด ดูแลสุขภาพมารดา และสุขภาพและพัฒนาการของเด็กวัยต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นบทบาทที่สำคัญอีกด้านของพยาบาลในการสร้างเสริมสุขภาพประชาชนและผู้ที่เจ็บป่วยในชุมชน
พยาบาลยุคประเทศไทย 4.0 จำเป็นต้องพัฒนาทักษะหรือความสามารถ ซึ่งได้แก่
1) ทักษะเพื่อพัฒนาตน เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพ เริ่มตั้งแต่การดูแลที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ปฏิบัติหน้าที่อย่างมืออาชีพ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบ สามารถใช้ความรู้ในการดูแลรักษาพยาบาล กล้าที่จะรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ตลอดจนการทำงานอย่างเป็นระบบ คิดเป็นระบบ ทำ พูด และรายงานอย่างเป็นระบบ
2) ทักษะการทำงานร่วมกับคนอื่น คือ ความสามารถในการทำงานเป็นทีม ความสามารถในการประสานงานที่รวดเร็ว แม่นยำและถูกต้อง
3) ทักษะการดูแลที่เน้นความปลอดภัยของผู้ป่วย คู่ขนานไปกับการพัฒนาคุณภาพในการทำงาน รู้จักใช้ข้อมูลทางวิชาการหลักฐานเชิงประจักษ์ ข้อมูลทางด้านวิจัย และนำมาบูรณาการกับการทำงาน โดยทักษะต่างๆ เหล่านี้ได้ถูกบรรจุอยู่ในหลักสูตรในปัจจุบันการเรียนรู้ตั้งแต่ยังเป็นนักเรียนพยาบาล ทั้งนี้โดยใช้ศาสตร์และศิลป์ในการปฏิบัติการพยาบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น